ประวัติโรงเรียน
|
ประวัติโรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล)
โรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล)ตั้งอยู่ เลขที่ 219 หมู่ 2 ต.หัวโพธิ์ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาลตำบลหัวโพธิ์ (ไชยยาคารวัดท่าไชย) ประชานุกูลวัดท่าไชย, วัดท่าไชย(ประชานุกูล) และโรงเรียนวัดท่าไชยตามลำดับ เริ่มทำพิธีเปิดเมื่อ 30 มิถุนายน 2481 โดยมีขุนอำนวย คงคลราษฎร์ นายอำเภอสองพี่น้อง เป็นประธานราษบุรุษสนั่น เชยสุวรรณ ป.ปก. ศึกษาธิการอำเภอสองพี่น้องเป็นผู้อำนวยการ มีครูสองคนคือ นายสุพรรณ ยุรเกตุ เป็นครูใหญ่ นายเช้ง สุจริตพร เป็นครูน้อย โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดท่าไชยเป็นสถานที่เรียน มีนักเรียน 235 คน ดำรงอยู่ด้วย เงินการประถมศึกษา เงินองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเงินสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามลำดับ
พ.ศ. 2482 พระอาจารย์เปรื่อง ฯ เจ้าอาวาสวัดท่าไชย ร่วมกับกำนันฉันท์ โพธิพันธุ์ พ่อค้าประชาชนบริจาคเงิน 3,615.82 บาท สมทบกับเงินงบประมาณ ประเภทสะสมศึกษาพลี ของกระทรวงศึกษาธิการ 1,230.27 จัดสร้างอาคารเรียน ขึ้นหนึ่งหลังตามแบบ ป.2 ทำพิธีเปิดเมื่อ 24 มิถุนายน 2484 นายศรีสะอาด ปายะนันต์ เป็นนายอำเภอฯ นายสหัส นิยมศิลป์ เป็นศึกษาธิการ นายสุพรรณ ยุรเกตุเป็นครูใหญ่ ได้ขออนุญาตรื้อถอนแล้ว เพราะอาคารมีสภาพชำรุดมากไม่ปลอดภัยในการจัดการเรียนการสอน
พ.ศ. 2506 พระครูอุภัยธรรมสถิต เจ้าอาวาสวัดท่าไชย ร่วมกับพ่อค้าประชาชน บริจาคทรัพย์สมทบกับงบประมาฯของกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายละ120,000 บาท สร้างอาคารเรียนหลังใหม่แทนอาคารเก่าที่ชำรุด โดยสร้างแบบ 006 ทำพิธีเปิดเมื่อ 23 มีนาคม 2510 นายสวัสดิ์ มีเพียร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นายเสถียร ใจยั่งยืน เป็นครูใหญ่ นับเป็นอาคารเรียนถาวรหลังที่ 1 ปัจจุบันได้รื้อถอนแล้ว เพราะมีสภาพชำรุดและใช้ที่ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช 2/28 ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้รับงบประมาณรายจ่ายพิเศษ จำนวน 40,000 บาท มารื้อถอนอาคารแบบ ป.2 โดยนำตัวไม้มาสร้างเป็นอาคารเรียนหลังใหม่ ป.1ค ขนาด3 ห้องเรียนอาคารเรียนมีสภาพชำรุดมากได้ขออนุญาตรื้อถอนแล้ว
อาคารเรียนถาวรหลังที่ 2 เป็นอาคารแบบ 017 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างจากงบประมาณประถมศึกษา ปี 2522 เริ่มสร้างเมื่อ 23 มกราคม 2522 เสร็จเมื่อ 1 พฤษภาคม 2522 สมัยนายเชาว์ ธีระกุล เป็นนายอำเภอ นายกรอง หงส์โต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสองพี่น้อง นายเสถียร ใจยั่งยืน เป็นอาจารย์ใหญ่
อาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคารแบบ สปช. 105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างจากงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ปี 2533 งบประมาณ 1,036,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ 4 กันยายน 2533 สมัยนายประเสริฐ สุคนธ์มาล เป็นนายอำเภอ ฯ นายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอฯ นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณปี 2535 ให้สร้างอาคารเรียนแบบ 2/28 จำนวน 1 หลัง ขนาด 18 ห้องเรียน งบประมาณ 5,945,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 22 กันยายน 2542 สมัยนายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสองพี่น้อง นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่
พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับเงินงบประมาณปี 2541 ให้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง ขนาด 18 ห้องเรียน งบประมาณ 6,458,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 22 กันยายน 2542 สมัยนายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสองพี่น้อง นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล)
พ.ศ. 2562 โรงเรียนได้รับเงินงประมาณปี 2561 ให้สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 3,291,277 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 15 ตุลาคม 2562 สมัยนายเผชิญศักดิ์ แก้วเขียว เป็นผุ้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 นางจุฑามาส คล้ายสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ปัจจุบัน โรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล) มีอาคารเรียนจำนวน 4 หลัง ดังนี้
อาคารเรียนหลังที่ 1 เป็นอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน สร้างจากเงินงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2533 งบประมาณ 1,036,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 4 กันยายน 2533 สมัยนายประเสริฐ สุคนธ์มาล เป็นนายอำเภอ ฯ นายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอฯ นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล) ใช้เป็นห้องพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการอาหาร ห้องดนตรี นาฎศิลป์ ห้องพุทธศาสนา ใต้ถุนอาคารทำเป็นโรงอาหาร
อาคารเรียนหลังที่ 2 เป็นอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 ขนาด 18 ห้องเรียน สร้างจากเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2535 งบประมาณ 5,945,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2536 สมัยนายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสองพี่น้อง นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นอาจารย์ใหญ่ ชั้น 3 ใช้เป็นห้องเรียนมัธยมศึกษา ม.2 - ม.3 จำนวน 6 ห้อง ชั้น 2 ห้องวิทยาศาสตร์ประถม ห้องวิทยาศาสตร์มัธยม ห้องคอมพิวเตอร์ ชั้นล่างเป็นห้องผู้อำนวยการ ห้องธุรการ และห้องประชุม
อาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 ขนาด 18 ห้องเรียน สร้างจากเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2541 งบประมาณ 6,458,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2542 สมัยนายดำรงค์ ชื่นจิต เป็นหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสองพี่น้อง นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าไชย(ประชานุกูล) ชั้น 3 ใช้เป็นห้องเรียน ป.4 – 6 ชั้น 2 เป็นห้องเรียน ป.1-3 ชั้นล่าง เป็นห้องเรียนอนุบาล
อาคารเรียนหลังที่ 4 เรียนแบบ สปช. 105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน งบประมาณ 3,291,277 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อ 15 ตุลาคม 2562 สมัยนายเผชิญศักดิ์ แก้วเขียว เป็นผุ้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 นางจุฑามาส คล้ายสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ใช้เป็นห้องเรียน ม.1 และห้อง ศูนย์ ERIC
อาคารประกอบ
อาคารประกอบหลังที่ 1 บ้านพักครูแบบกรมสามัญ งบประมาณ 25,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2516 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนเพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช 2/28 ตามที่โรงเรียน ได้รับงบประมาณ
อาคารประกอบหลังที่ 2 หอประชุม สภาตำบลหัวโพธิ์ จัดวัสดุและงบประมาณให้ ได้ขออนุญาตรื้อถอนแล้ว และนำวัสดุที่เหลือไปใช้สร้าง โรงอาหารแบบสร้างเอง และได้รื้อถอนสร้างเป็นอาคารโรงอาหารใหม่อีกครั้ง ในสมัย นางไมตรี โหมดเครือ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งได้รับงบประมาณจาก พระธรรมพุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์
อาคารประกอบหลังที่ 3 โรงฝึกงานแบบ312 สร้างจากงบประมาณประถมศึกษา สร้างเสร็จเมื่อ 28 ธันวาคม 2519 โรงเรียนได้รับอนุญาตรื้อถอน และนำวัสดุมาสมทบสร้างโรงอาหาร
อาคารประกอบหลังที่ 4 ส้วมแบบ สปช. 601/2526 จำนวน 1 หลัง 4 ที่ สร้างจากเงินงบประมาณประจำปี 2529 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนเพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช 2/28 ตามที่โรงเรียนได้รับงบประมาณ
อาคารประกอบหลังที่ 5 ถังน้ำซีเมนต์แบบ ฝ. 33 สร้างจากเงินงบประมาณประจำปี 2532 จำนวน 43,000 บาท ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนเพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช 2/28 ตามที่โรงเรียนได้รับงบประมาณ
อาคารประกอบหลังที่ 6 ส้วมแบบ สปช.601/2526 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง งบประมาณประจำปี 2533 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอนเพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช 2/28 ตามที่โรงเรียนได้รับงบประมาณ
อาคารประกอบหลังที่ 7 ถังน้ำซีเมนต์แบบ ฝ. 30 พิเศษ 1 ชุด 4 ที่สร้างจากงบประมาณประจำปี 2534 จำนวน 65,500 บาท ปัจจุบันได้รื้อถอน และใช้พื้นที่สร้างโรงผลิตน้ำดื่ม และบรรจุน้ำดื่ม
อาคารประกอบหลังที่ 8 บ้านพักครูแบบกรมสามัญ 2 ชั้น 2 ห้องนอนจากงบประมาณ 120,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 13 กนยายน 2534 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอน เพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช 2/28
อาคารประกอบหลังที่ 9 ถังน้ำซีเมนต์แบบ ฝ. 33 จำนวน1 ชุด 3ถัง สร้างจากเงินงบประมาณ 60,000บาท สร้างเสร็จเมื่อ 12 กรกฎาคม 2535 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับอนุญาตให้รื้อถอน เพื่อใช้สถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28
อาคารประกอบหลังที่ 10 สนามบาสเกตบอล สร้างด้วยเงินงบประมาณ 128,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ปัจจุบันได้รื้อถอน เพื่อใช้พื้นที่สร้างโรงจอดรถ
อาคารประกอบหลังที่ 11 ส้วมแบบ สปช.601/2526 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง สร้างด้วยเงินงบประมาณ 90,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบันได้รื้อถอนและใช้พื้นที่สร้างร้านค้า ซึ่งอยู่ภายในโรงอาหาร จำนวน 3 คูหา ในสมัยนางรสสุคนธ์ วัฒนรุกข์ เป็นผู้อำนวยการ
อาคารประกอบหลังที่ 12 ถังน้ำซีเมนต์ แบบ ฝ.33 จำนวน 1 ชุด สร้างจากเงินงบประมาณ 60,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบันได้รื้อถอนแล้ว เพื่อใช้พื้นที่สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
อาคารประกอบหลังที่ 13 รั้วอิฐบล็อก สูง 1.50 เมตร ยาว 100 เมตร อยู่ทางทิศเหนือ ของโรงเรียน สร้างด้วยเงินงบประมาณ ส.ส. จำนวน 72,760 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2537
อาคารประกอบหลังที่ 14 อาคารห้องสมุด แบบสร้างเองสร้างเมือปี 2542 พื้นที่ใช้สอย ขนาด 4 ห้องเรียน ด้วยเงินบริจาค 500,000 บาท และวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนอาคารเรียน โดยใช้แรงงานจากช่างในหมู่บ้านร่วมกันสร้าง ในสมัยนายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
อาคารประกอบหลังที่ 15 ส้วมแบบ สปช.601/2526 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง งบประมาณ ประจำปี 2539 จำนวนเงิน 90,000 บาท สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539
อาคารประกอบหลังที่ 16 ส้วมแบบ สปช.601/2526 จำนวน 1 หลัง 4 ที่นั่ง สร้างด้วยเงินงบประจำปี 2540 จำนวนเงิน 110,000 บาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541
อาคารประกอบหลังที่ 17 อาคารโรงอาหาร แบบสร้างเอง สร้างด้วยเงินบริจาค จากพระธรรมพุทธิมงคล เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จำนวน 650,000 บาท ในสมัยนางไมตรี โหมดเครือ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
อาคารประกอบหลังที่ 18 อาคารเรือนเคียงฟ้า แบบสร้างเอง สร้างด้วยเงินงบประมาณ จำนวน 29,600 บาท และเงินบริจาคอีกส่วนหนึ่ง ในสมัยนางจุฑามาส คล้ายสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
อาคารเรียนและอาคารประกอบทุกหลัง สร้างอยู่ในเนื้อที่ของวัดท่าไชย ที่มอบให้โรงเรียนเป็นจำนวน 8 ไร่ 2 งาน ซึ่งอยู่ด้านเหนือของวัดท่าไชย
ตั้งแต่เปิดเรียนมาจนถึงปัจจุบันมีครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ มาแล้ว 7 คน คือ
1. นายสุพรรณ ยุระเกตุ วุฒิ พ.ป. ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึง วันที่ 30 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2505 ย้ายไปเป็นครูใหญ่ โรงเรียนวัดทองประดิษฐ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
2. นายทองโดด วงษ์บันฑิตย์ วุฒิ ม. 3 ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ถึง วันที่ 17 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2493 ย้ายไปเป็นครูใหญ่ โรงเรียนวัดดอนสงวน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
3. นายเสถียร ใจยั่งยืน วุฒิ พ.ป. ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2530 เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2530
4. นายฉลวย วงษ์ขวัญเมือง วุฒิ ศษ.ม. ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2530 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2558
5. นางไมตรี โหมดเครือ วุฒิ ค.ม. ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
6. นางจุฑามาส คล้ายสุบรรณ วุฒิ ค.ม. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาอปริญญาโท ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
7. นางรสสุคนธ์ วัฒนรุกข์ วุฒิ ค.ม. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาปริญญาโท ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนวัดท่าไชย เปิดเรียนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเปิดทำการสอนชั้นอนุบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 และเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 เป็นต้นมา
|